เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรทรงเป็นรัตนกวีที่ยิ่งใหญ่ เกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย คนทั่วไปจะรู้จักในนาม “เจ้าฟ้ากุ้ง” เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรทรงพระนิพนธ์บทร้อยกรองไว้หลายเรื่อง บทที่ได้รับยกย่องว่าดีที่สุดคือกาพย์เห่เรือ ซึ่งเด่นทางความคิดสร้างสรรค์ รูปแบบแปลกใหม่ ประกอบด้วยโคลงสี่สุภาพและกาพย์ยานี ในลักษณะที่ เรียกว่ากาพย์ห่อโคลง และทรงเปลี่ยนวิธีแต่งใหม่โดยแบ่งเนื้อเรื่องออกเป็นตอน ๆ แต่ละตอนประกอบด้วยโคลง ๑ บท แล้วแต่งกาพย์ยานีเลียนความและขยายความอีกจ้านวนหนึ่ง ความในกาพย์ยานีบทแรกจะซ้ำกับความในโคลง จากนั้นทรงขึ้นตอนใหม่ด้วยโคลงอีก ๑ บทแล้วขยายความด้วยกาพย์ยานีต่อไป คำประพันธ์แบบนี้ จึงเรียกว่า กาพย์ห่อโคลง และนิยมใช้ในการร้องเห่เรือในการเสด็จทางชลมารคของพระเจ้าแผ่นดิน จึงเรียกว่า “กาพย์เห่เรือ” จากหลักฐานที่ปรากฏมาพบว่า กาพย์เห่เรือพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร เป็นกาพย์เห่เรือที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นแบบฉบับในการแต่งกาพย์เห่เรือสมัยต่อ ๆ มา เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น บทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรยังใช้เห่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และในขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในสมัยปัจจุบัน เนื่องจากมีลักษณะพิเศษดังนี้
๑. การใช้ถ้อยคำไพเราะ สละสลวย สัมผัสคล้องจอง และทำให้เกิดภาพพจน์
๒. การใช้สำนวนโวหาร อุปมาอุปไมย เป็นการยกเอาสิ่งที่จะกล่าวมาตั้งแล้วเขียน เปรียบเทียบกับสิ่งอื่น ท้าให้เกิดจินตนาการท้าให้ เข้าใจได้ดี บทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงใช้สำนวนโวหาร อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบได้อย่างไพเราะ แยบคาย ลึกซึ้ง เป็นที่ติดใจของผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง
๓. การใช้พรรณนาโวหาร เป็นการพรรณนาความรู้สึกได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งจะพบมากในคำประพันธ์ลักษณะนิราศ เมื่อพบเห็นสิ่งใดก็ จะระลึกถึงผู้หญิงที่ตนต้องจากมา โดยเขียนเป็นบทกวีที่พรรณนาให้เห็นภาพ ความรู้สึกที่ผู้ประพันธ์มีต่อนางอันเป็นที่รัก
๔. เกิดอารมณ์สะเทือนใจ
๕. เล่นอักษร
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
Comments